Sunday, 3 February 2013

Research

ถั่วกรอบแก้ว

ส่วนประกอบ
  1. ถั่วลิสงเม็ดใหญ่ 300 กรัม
  2. น้ำตาลทราย 200 กรัม
  3. น้ำเปล่า 2 ถ้วยตวง
  4. เกลือ ช้อนชา
  5. โอวัลติน ช้อนโต๊ะ
  6. งาขาว ช้อนโต๊ะ
คุณประโยชน์
ถั่วลิสง
ถั่วลิสงเป็นพืชที่มีคุณค่าทางการบำรุงร่างกายสูงกล่าวกันที่ช่วยให้มีอายุยืน จนได้รับสมญานามว่า พืชอายุวัฒนะ ถั่วลิสงมีโปรตีนสูงประมาณ 30% จะเป็นรองก็แต่ถั่วเหลืองเท่านั้น ปริมาณโปรตีนในถั่วลิสงสูงกว่าในข้าวสาลี 1 เท่า สูงกว่าข้าว 3 เท่า เมื่อเทียบกับไข่ไก่  นมวัว เนื้อสัตว์แล้ว ก็ไม่ด้อยกว่ากัน ในถั่วลิสงเป็นโปรตีนที่ร่างกายสามารถดูดชึมไปใช้ได้ง่าย  ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ถึง 90% นอกจากนี้ ถั่วลิสงยังประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับร่างกาย 8 ชนิด ในอัตราที่เหมาะสม ถั่วลิสงยังมีไขมัน วิตามิน บี2 โคลีน (choline) กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว เมธิโอนีน (Methionine) และวิตามิน เอ-บี-อี-เค แคลเชียม เหล็ก และธาตุอื่นๆ

งา
       งามีไขมันจำเป็นที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ คือกรดไลโนเลอิก ร่างกายจะนำกรดไขมันดังกล่าวไปสร้างฮอโมนพรอสต้าแกลนดินฮีกัน ซึ่งทำหน้าที่ที่ทรงคุณค่าต่อร่างกายมากมายหลายด้านด้วยกัน อาทิ
  1. ช่วยขยายหลอดเลือด
  2. ช่วยลดความดันโลหิต
  3. ป้องกันเกล็ดเลือด (Plate Ket) เกาะกันเป็นลิ่ม ถ้าเกาะกันมากอาจอุดตันหลอดเลือดเล็ก
  4. ได้ยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลมากเกินไป
  5. งามีแคลเซี่ยมสูงทำให้กระดูกแข็งแรงเพิ่มความหนาให้มวลกระดูก
วิธีทำ
  1. นำน้ำ น้ำตาลทราย ถั่วลิสง โอวัลติน ใส่ในกระทะ ใช้ไฟปานกลางถึงแรงเล็กน้อยเคี่ยวจนน้ำใกล้งวด (ประมาณ 15 นาที) ให้คอยคนกันน้ำตาลติดกระทะ
  2. เคี่ยวไปเรื่อย ๆ จนน้ำแห้งหมด น้ำตาลจะตกทราย ให้ลดไฟเบา แล้วคนต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งน้ำตาลเริ่มเยิ้มเล็กน้อย
  3. เมื่อน้ำตาลเริ่มเยิ้มพอประมาณ ให้ใส่เกลือ ลงไป
  4. เคี่ยวไปเรื่อย ๆ จนน้ำตาลเยิ้มจนเคลือบถั่วเป็นเงาแวววาว ใช้ตะหลิวคนตลอด แล้วจึงใส่งาคลุกให้ทั่ว และปิดไฟ
  5. ยกลงและเทลงในภาชนะกระจายถั่วให้แยกจากกัน รอจนเย็น กรอบ
  6. ใส่ถุง หรือขวดโหล ปิดให้สนิท พร้อมรับประทาน
ตัวอย่างที่นำมาพัฒนา

จุ๋ม ถั่วกรอบแก้ว
ปัญหาที่พบ
  1. การหีบห่อตัวบรรจุภัณฑ์ยังไม่สมบูรณ์
  2. ยังไม่มีตราสินค้า
  3. ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าที่บรรจุ
  4. ไม่ระบุวันที่ผลิตและวันที่หมดอายุ
  5. ไม่มีตรา อย.
  6. รูปแบบตัวบรรจุภัณฑ์ยังไม่สะดุดตา
  7. การหีบห่อไม่มีความแข็งแรง
  8. รูปแบบการบรรจุยังไม่ทันสมัย
  9. การเก็บรักษาของสินค้ายังไม่ดีพอที่จะยืดอายุของตัวสินค้า
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...